สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม CGM (JGSEE-KMUTT)

02 470 8309-10 (4152)

ติดต่อเรา

    บริการให้คำปรึกษาทางด้านก๊าซเรือนกระจก
    (Consulting Services)

    บริการที่ปรึกษาและบริการงานวิชาการทางด้านก๊าซเรือนกระจก โดยภาคการศึกษาและการดำเนินการวิจัยมีความสำคัญในการสนับสนุนองค์กรต่าง ๆ ในการจัดการก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ได้แก่
    1. การให้คำปรึกษาเชิงวิชาการ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางและเทคนิคในการจัดการก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการออกแบบโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    2. การวิจัยและพัฒนา ดำเนินการวิจัยเชิงลึกเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและวิธีการตามความต้องการของผู้พัฒนาโครงการ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งในระดับภาครัฐและเอกชน
    3. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับองค์กรวิจัย สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางด้านก๊าซเรือนกระจก

    โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

    1) การประเมินสถานะการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    เราจะเริ่มต้นด้วยการประเมินสถานะปัจจุบันของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในองค์กร ซึ่งรวมถึงการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและการวิเคราะห์กระบวนการทำงานที่ส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    2) การพัฒนาแผนการลดก๊าซเรือนกระจก

    เราจะร่วมมือกับองค์กรในการพัฒนาแผนการลดก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจนและมีเป้าหมาย โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้และความเหมาะสมของแนวทางต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในบริบทขององค์กร

    3) นำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรม

    แนะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้พลังงานทดแทน การปรับปรุงกระบวนการผลิต และการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    4) การจัดฝึกอบรม

    จัดการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการจัดการก๊าซเรือนกระจกให้กับพนักงานและผู้บริหาร โดยเน้นความเข้าใจในมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด

    5) การติดตามและประเมินผล

    เสนอแนวทางในการติดตามและประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายและทำการปรับปรุงกลยุทธ์ตามความจำเป็น

    6) การรายงานผล

    ช่วยองค์กรในการจัดทำรายงานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสามารถใช้เพื่อสื่อสารความสำเร็จและความมุ่งมั่นต่อการลดก๊าซเรือนกระจกไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

    Highlight

  • การพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER)
  • การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint of Organization: CFO)
  • การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP)
  • ผลประโยชน์ที่ได้รับ

  • การประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ สามารถระบุข้อมูลได้อย่างชัดเจน สามารถจำแนกสาเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญ
  • การวิเคราะห์สามารถช่วยจำแนกสาเหตุที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญ ทำให้สามารถวางแผนลดการปล่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผลการประเมินสามารถนำไปใช้ในการรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ ซึ่งสามารถขยายเป็นคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) เพื่อใช้ประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนหรือซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต หรือการนำไปใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร บุคคล งานบริการ หรือจากการผลิตผลิตภัณฑ์ ต่างๆ
  • การดำเนินการตามแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกช่วยให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  • ช่วยส่งเสริมความยั่งยืนทั้งในระดับองค์กร ซึ่งสร้างตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
  • รายละเอียดการให้บริการปรึกษาและบริการงานวิชาการทางด้านก๊าซเรือนกระจก

    1. บริการให้คำปรึกษาสำหรับโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) โดยองค์การบริการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

    จัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการ (Project Design Document: PDD) และ/หรือรายงานการติดตามประเมินผล (Monitoring Report: MR) เพื่อขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ตามหลักเกณฑ์ที่ อบก. กำหนด

    ความเชี่ยวขาญ
    • พลังงานภาคอุตสาหกรรม (Energy industries)
    • อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing industries)
    • การจัดการและกำจัดของเสีย (Waste handling and disposal)
    • การตัดไม้และการทำสวนป่า (Afforestation and reforestation)
    • การเกษตร (Agriculture)

    2. บริการให้คำปรึกษาและจัดทำเอกสารเพื่อขอรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ โดยองค์การบริการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

    2.1 คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint of Organization: CFO)

    ความเชี่ยวขาญ
    • การผลิตพลังงานและการจัดการพลังงานไฟฟ้า (Power Generation and Electric Power Transactions)
    • อุตสาหกรรมการผลิตทั่วไป (General Manufacturing Industries)
    • การจัดการและกำจัดของเสีย (Waste handling and disposal)
    • กิจกรรมการบริการทั่วไป

    2.2 คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP)

    3. บริการให้คำแนะนำการคำนวณและติดตามตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    ในภาคพลังงาน การขนส่ง การจัดการของเสีย ภาคอุตสาหกรรม การเกษตรและการใช้ประโยชน์ที่ดิน

    4. บริการให้คำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการและเทคโนโลยีในการลดก๊าซเรือนกระจก

    ตัวอย่างเทคโนโลยี

  • Solar PV ในภาคพลังงาน
  • เชื้อเพลิงขยะมูลฝอย (Refuse Derived Fuel: RDF) ในภาคของเสีย
  • การจัดการน้ำด้วยวิธีแบบเปียกสลับแห้ง (Alternate wetting and drying: AWD) ในภาค การเกษตร