สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม CGM (JGSEE-KMUTT)

02 470 8309-10 (4152)

ติดต่อเรา

    Auditing Services

    1. บริการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบ

    บริการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบ สำหรับการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับก๊าซเรือนกระจก

  • หน่วยงานบริการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก (Validation and Verification Body : VVB) ภายใต้การรับรองระบบงานตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบ จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ตามมาตรฐานการตรวจสอบและรับรองแห่งชาติ มตช. 16065-0564 (ISO14065:2020)
  • ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประเมินภายนอก สำหรับการทวนสอบการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO) และการตรวจสอบความใช้ได้และการทวนสอบโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ภายใต้ข้อกำหนดขององค์การบริหารการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
  • นโยบายการปฏิบัติการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบ

    การตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจกของศูนย์ฯ ตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล ISO 14065 และ ISO 14066 อยู่บนพื้นฐานของหลักการที่สำคัญ 6 ประการ ได้แก่

    1) ความตรงประเด็น (Relevance)

    การใช้ข้อมูลและวิธีการเลือกแหล่งกำเนิด ดูดกลับ กักเก็บ ก๊าซเรือนกระจกที่ตรงกับความจำเป็นในการใช้งาน โดยต้องเลือกแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก แหล่งดูดกลับเรือนกระจก แหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ข้อมูล รวมถึงวิธีการวัดและคำนวณที่เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่เก็บรวบรวมหรือประเมินได้นั้นควรสะท้อนถึงปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดขึ้นของโครงการอย่างชัดเจน

    2) ความสมบูรณ์ (Completeness)

    ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับก๊าซเรือนกระจก ต้องครอบคลุมการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกของโครงการทั้งหมด ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่ทำการเก็บรวบรวมหรือประเมินได้ ควรเป็นปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก จากทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในโครงการ หรือเกี่ยวข้องกับโครงการ

    3) ความไม่ขัดแย้งกัน (Consistency)

    ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมหรือคำนวณปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่ได้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว ต้องไม่ขัดแย้งกัน มีความสอดคล้อง เชื่อมโยงและเทียบเคียงกันได้

    4) ความถูกต้อง (Accuracy)

    การลดความมีอคติ และความไม่แน่นอนในการรวบรวมหรือคำนวณปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ให้ได้มากที่สุดด้วยวิธีการที่สามารถปฏิบัติได้

    5) ความโปร่งใส (Transparency)

    การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมหรือคำนวณปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่เพียงพอ และเหมาะสม สามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้ผู้ขอรับการรับรองสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการตัดสินใจด้วยความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเพื่อความสอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 14065 ต้องเปิดเผยและมีความโปร่งใสที่เกี่ยวกับแหล่งข้อมูล การคำนวณ สถานการณ์สมมติที่นำเสนอในรายงานการตรวจสอบความใช้ได้และรายงานการทวนสอบของโครงการลดก๊าซเรือนกระจก

    6) ความอนุรักษ์ (Conservativeness)

    การใช้สมมติฐาน ตัวเลขและกระบวนการที่ทำให้การประเมินปริมาณการปล่อยและ/หรือดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากโครงการไม่มากเกินไปกว่าความเป็นจริง

    2. บริการผู้ประเมินภายนอก (Validation and Verification Body: VVB) สำหรับการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบโครงการก๊าซเรือนกระจก

    2.1 การตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER)

    อ้างอิงข้อกำหนดขององค์การบริหารการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

    ขอบข่ายการใช้บริการ
    • พลังงานภาคอุตสาหกรรม (Energy industries)
    • อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing industries)
    • การจัดการและกำจัดของเสีย (Waste handling and disposal)
    • การตัดไม้และการทำสวนป่า (Afforestation and reforestation)
    • การเกษตร (Agriculture)
    แบบฟอร์มสำหรับบริการตรวจสอบความใช้ได้ โครงการ T-VER
    แบบฟอร์มคำขอรับบริการทวนสอบโครงการ T-VER

    2.2 บริการทวนสอบการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์

    สำหรับการทวนสอบการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ตามข้อกำหนดขององค์การบริหารการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

    ขอบข่ายการใช้บริการ
    • การผลิตพลังงาน และการจัดการพลังงานไฟฟ้า (Power Generation and Electric Power Transactions)
    • อุตสาหกรรมการผลิตทั่วไป (General Manufacturing Industries)
    • การจัดการและกำจัดของเสีย (Waste handling and disposal)
    • กิจกรรมการบริการทั่วไป
    แบบฟอร์มคำขอรับบริการทวนสอบการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร